ติดฟิล์มกันรอย Notebook หรือ จอคอม Monitor จะดีจริงหรือ?
สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ซึ่งอยู่กับหน้าจอ Monitor คอม, หน้าจอ Notebook นานๆ (โดยทั่วไปวันละ 8 ชม ปีๆหนึ่งก็ 2,112 ชม. เลยทีเดียว) พบว่าหน้าจอคอม Monitor หรือจอ Notebook สมัยใหม่ที่มีความคมชัดสูงระดับ 4k หรือ HD เร่งทำให้เกิดปัญหา ออฟฟิศซินโดรม(Office Syndrome)เกี่ยวกับสายตาเพิ่มเป็นจำนวนมาก การติด ฟิล์มกันรอย Notebook เป็นการช่วยถนอมสายตา และลดปัญหาต่างๆ ทั้งยังเพิ่มความสามารถในการทำงานมากขึ้นอีกด้วย
เหตุผลที่ดีในการติดฟิล์มกันรอยจอ Notebook หรือ จอคอม Monitor คือ?
กันรอยขีดข่วนหน้าจอ (Anti-Scratch)
หน้าจอ Notebook หรือ หน้าจอคอม Monitor ส่วนมากผลิตจาก PTE โดยเคลือบกันรอย (Coating) อยู่ที่ 3H ซึ่งสามารถเป็นรอยได้ โดยแรงประมาณใช้เหล็กหรือของแข็งมาสัมผัส แต่โอกาศการเป็นรอยของจอ Notebook หรือ จอคอม Monitor ตามลักษณะการใช้งานเป็นรอยได้ยาก เนื่องจากมีการพับหรือวางไว้กับที่ และแทบไม่มีการสัมผัสหน้าจอ (ยกเว้นจอสัมผัส) ทำให้เกิดรอยขีดข่วนได้ยากกว่าอุปกรณ์พวกโทรศัพท์หรือ Tablet มาก แต่จากการสำรวจพบว่า
“42% ของหน้าจอ Notebook หรือ จอคอม Monitor จะเป็นรอยภายในระยะเวลา 1 ปี และผู้ใช้จะเป็นรอยขีดข่วนมากถึง 61% เมื่อใช้งานไปถึงระยะเวลา 2 ปี” อ้างอิงจากข้อมูลของ เว็บไซด์ของ LED Sony
รอยขีดข่วนที่ไม่ควรเกิดขึ้นเนื่องมากจากอุบัติเหตุและความประมาณจากการใช้งานแทบทั้งสิ้น การติดฟิล์มกันรอย Notebook หรือ จอคอม Monitor จึงเหมือนเป็นการซื้อประกันราคาถูกให้กับหน้าจอ เมื่อเกิดความผิดพลาดที่เราคาดไม่ถึง
ฟิล์มกันรอยทั่วไป จะมีความแข้งประมาณ 3H ซึ่งเท่ากับความแข็งของหน้าจอ Monitor หรือ หน้าจอ Notebook แต่ในปี 2016 ฟิล์มคุณภาพสูงกว่าราคาถูกลงมาก ทำให้ฟิล์มที่ใช้ติดหน้าจอ Notebook หรือ หน้าจอ Monitor มีความแข็งที่ 5H ซึ่งมีผลดีต่อหน้าตรงแข็งกว่าเดิมมาก ทำให้จอเราคงทนมากขึ้น
กันแสง UV กันฝ้า (Anti-UV 99%)
ระบบให้ความสว่างของจอ Notebook หรือ จอคอม Monitor ทั่วๆไปมี 2 ระบบคือ LCD และ LED
จอ LCD ใช้ระบบ CCFL เป็นแหล่งกำเนิดแสง CCFL คือ Cold-Cathode Fluorescent Lamp ก็คือหลอดไฟฟลูออเรสเซน(หลอดนีออน) ทั่วๆไปเพียงแต่มีขนาดเล็ก
จอ LED ใช้หลอด LED สำหรับให้ความสว่าง มี 2 แบบ คือ
- WLED คือ White LED เป็น LEDแสงขาว ซึ่งจอทั่วไป 80% ใช้ระบบนี้ ให้ความสว่างสูงกว่า LCD กินไฟน้อย
- แบบ GB-r LED อันนี้ใช้หลายแสงผสมกันเพื่อให้ได้แสงขาว
จะเห็นว่าความสว่างของจอทั้ง 2 แบบมีความเข้มแสงมากกว่าหลอดฟลูออลเรสเซน ทั่วๆไป ถึง 4-5 เท่าตัวและการใช้งานเราจำเป็นต้องจ้องมองจอ ในระยะ 30 cm – 100 cm ซึ่งเป็นระยะใกล้มากเพื่อการทำงาน โดยทั่วไปมีงานวิจัยยืนยันเกี่ยวกับการเกิดฝ้าจะแสงฟลูออเรสเซนออกมาพอสมควร มีคำแนะนำให้อยู่ห่างจากหลอดไฟนีออนประมาณ 1 เมตร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผิวและฝ้า แต่เราไม่สามารถทำได้เพราะเราจำเป็นต้องใช้งานอยู่หน้าจอคอม ในระยะที่ใกล้กว่านั้น
ฟิล์มกันรอย สามารถกันแสง UV ได้ถึง 99% ซึ่งสามารถป้องกันปัญหาต่างๆทั้ง ถนอมสายตา และกันความเข้มแสงไม่ให้เกิดฝ้า ในทางอ้อมได้ด้วย
อย่างไรก็ดีผู้ผลิตหน้าจอ LCD และ LED จะควบคุมไม่ให้ความเข้มของแสงที่เกิดขึ้น ไม่ให้อยู่ในระดับอันตรายอยู่แล้ว การติดฟิล์มเพื่อกันรังสี UV นั้นเป็นเพียงป้องกันส่วนเสริมเพิ่มอีกทางเท่านั้น เพื่อให้ป้องกันผลกระทบในระยะยาวจากการใช้งาน นานๆเป็นเวลาหลายปี
กันแสงสะท้อน หรือ เงาสะท้อน (Anti-Reflection)
รูปจาก Twiser ของ PDAmobiz นะครับ
จอคอม Notebook หรือ จอคอม Monitor ระบบ LED โดยทั่วไปไปจะเคลือบกันแสงสะท้อน (Anti-Glare) 3 แบบ ดังนี้
- จอแบบ Glossy หรือเรียกกันว่า “จอกระจก” คือ ไม่มีเคลือบกันแสงสะท้อน หน้าจอสมัยใหม่ ส่วนมากเป็นแบบนี้ พวกจอ AllinOne,จอ iMac, จอ Macbook ล้วนเป็นแบบ Glossy ทั้งสิ้น จอประเภทนี้ไม่เหมาะกับทำงานหน้าจอนานๆ หรือมองนานๆ เพราะจะแสบตาหรือกระทบต่อระบบต่างๆ ได้ ต่อให้จัดแสงดียังไงก็ยังมีเงาสะท้อนให้เห็นครับ ไม่ดีต่อสุขภาพตาอย่างยิ่ง
- จอแบบ Matte หรือจอแบบด้าน จะแบ่งเป็น 4 เกรดตามการเคลือบ และลักษณะการใช้งาน คือ
2.1 Hard Anti Glare – เคลือบแบบเข้มข้น สำหรับการใช้งานนอกอาคารโดยเฉพาะ ข้อเสียคือมี เม็ดจุดคริสตัล หรือ เม็ดทรายจิ๋วเด่นชัด ทำให้ภาพเป็นสีรุ้งในบางทิศทางหรือมุมมอง ที่ไม่ใช้แนวตรง
2.2 Normal Anti Glare – เคลือบปกติ จอแบบนี้จะมีสำหรับ Notebook หรือจอ Monitor บางรุ่นแต่ราคาสูงกว่าปกติ เหมาะสำหรับการทำงาน เพราะลดแสงสะท้อน และเงาสะท้อนได้ด้วย
2.3 Light Anti Glare – การเคลือบแบบบาง จะเน้นไปเพื่อความสวยงามของหน้าจอเท่านั้น แต่ยังคงมีแสงสะท้อนและเงาสะท้อนอยู่ แต่จะดีในเรื่องไม่เกิดรอยนิ้วมือเวลาสัมผัส หรือเกิดได้น้อยส่วนมากใช้กับพวก จอสัมผัส แบบเครื่อง POS หรือ เครื่อง AllinOne ที่สัมผัสหน้าจอ
2.4 Lightest Anti Glare – เคลือบบางๆมาก เพื่อความสวยงาม แต่ปัญหาเรื่องแสงสะท้อนและเงาสะท้อนอยู่ แถมการเคลือบแบบนี้มีอยู่ในเฉพาะจอ Notebook ราคาแพง หรือ จอคอมมอนิเตอร์ราคาสูงๆ เท่านั้น - Semi-Glossy อันนี้คือข้อดีของทั้งสองแบบรวมกันใสและไม่มีจุดแสงให้รำคาญ และไม่สะท้อนแสงไปพร้อมๆ กัน (อันนี้ราคาสูงมากๆ จะมีอยู่ในไม่กี่รุ่นบนโลก ราคาเกินแสนขึ้นไป)
ปัญหาหลักๆของหน้าจอสมัยใหม่คือทำมาเป็น Glossy จอกระจก ซึ่งเหมาะกับจอ HD และ 4K ซึ่งแสดงภาพและสีสันออกมาได้สมบูรณ์ 100% แต่ไม่เหมาะกับการใช้งาน โดยเฉพาะการทำงานอย่างยิ่ง เพราะการจ้องจอนาน ทำให้เกิดผลเสียมากมายดังนี้
- แสงสะท้อนทำให้แสบตา เพราะการสะท้อนที่เกิดจากความเข้มแสงสูงกว่า ความสว่างหน้าจอ 2-4 เท่า แถมสะท้อนเข้าตาเราตลอดเวลาในการทำงาน เราจะแสบตาและรี่ตา ในการทำงาน ทำให้สุขภาพตาเราพังเร็วมาก
- เงาสะท้อน บนจอ Notebook หรือจอคอม Monitor จะรบกวนประสิทธิภาพการทำงาน มีการสำรวจเรื่องเงาสะท้อนบนจอ LED พบว่า การทำงานบนจอที่มีเงาสะท้อนเพียง 5% ทำงานระยะเวลาการงานบนจอคอมลดลงไปถึง 30% เนื่องจากเงานสะท้อนจะเป็นภาพซ้อน ซึ่งเราจำเป็นต้องเพ่งสมาธิผ่านภาพซ้อนนั้น เพื่อทำงานบนหน้าจอ ทำให้ปวดหัวง่าย ไมเกรนกำเริบง่าย คลื่นไส้ และสมาธิสั้นลงอย่างมาก
- ทำให้มีโอกาศเกิดโรคทางสายตา และสมอง ทั้ง การมึนศรีษะ ปวดตา แพ้แสง น้ำตาไหล ตาลาย ตาพร่า ง่ายขึ้นมาก
- ความสวยและสีสันหน้าจอลดลง ซึ่งแสงสะท้อนและเงาสะท้อน จะบดบังภาพหน้าจอ ทำให้จอ notebook หรือ จอ Monitor ที่เราซื้อมาราคาแพงๆ แต่แสดงความสามารถได้ไม่เต็มที่
จาก VDO ต่างประเทศเปรียบเทียบหน้าจอแบบกระจก (Glossy) กับ หน้าจอแบบด้าน (Glare) จะเห็นว่าภาพที่ได้แบบ Glare จะดีกว่ามาก ทั้งทีกระจกควรจะดีกว่า เนื่องจากแบบ Glare ตัดสิ่งรบกวนภายนอกออกไปได้ ทำให้ได้ภาพที่ดีกว่า ในระดับที่เห็นชัดเจน แต่เนื่องจากการลดต้นทุน บวกกับต้องการสื่อถึงหน้าจอที่เป็น HD และ 4K ที่ชัดเจน ทำให้จอที่ออกมาสมัยใหม่เป็นจอกระจกซะส่วนมาก
การติดฟิล์มกันรอย Notebook หรือ จอคอม Monitor ช่วยปัญหาแสงสะท้อนและเงาสะท้อน ได้อย่างไร?
ฟิล์มที่ใช้แก้ปัญหาของ แสงสะท้อนและเงาสะท้อน บนจอ Notebook และจอคอม Monitor เราจะใช้ ฟิล์มแบบด้าน (Matte Film) ในการแก้ปัญหา แต่ฟิล์มกันรอยแบบด้าน (Matte Film) ก็มีหลากหลายแบบด้วยกัน เริ่มจากแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆคือ
- Anti-Glare
- Anti-Reflection
ซึ่งการทำงานเหมือนจะใกล้เคียงกัน แต่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดย
จากรูปเป็น การกระจายแสงของ Anti-Glare Film ซึ่งหน้าจอทั่วๆไป ของ Notebook และ จอคอม Monitor ก็ใช้หลักการการะจายแสงแบบนี้ ซึ่งจะทำให้แสงสะท้อนกระจายออกไปรอบทิศทางจากผิวที่ไม่เรียบ เงาสะท้อนก็ลดน้อยลงไปอย่างมาก ซึ่งข้อดีของ Anti-Glare Film จะถูกและหาได้ง่าย
จากรูปคือ การทำงานของ Anti-Reflection Film จะทำใช้วิธีดูดซับแสง (Absorb) เข้าไปแล้วกระจายแสงออกมาบางส่วน ทำให้เงาสะท้อนและแสงสะท้อนลดน้อยลงไป ซึ่งข้อดีของ Anti-Reflection Film จะสบายตากว่ามาก เพราะแสงที่หักเหออกมาจะมีความเข้มน้อยลงมาก ทำให้การใช้งานในระยะยาว Anti-Reflection Film จะดีกว่าเยอะ เพราะจะถนอมสายตาได้มากกว่าและป้องกันแสงสะท้อนที่มาทำร้ายดวงตาได้ดีกว่ามาก
Anti-Glare กับ Anti-Reflection สามารถลดแสงสะท้อนและเงาสะท้อน ได้เหมือนกันแต่คุณภาพต่างกันเยอะ แม้แต่คนขายส่วนมากที่ไม่เข้าใจในระบบการทำงานที่แท้จริงของฟิล์มทั้งสองแบบ ก็เหมารวมเอาหมดว่า Matte Film คือ Anti-Reflection เพราะทำงานได้เหมือนกัน เพื่อให้ขายได้ในราคาแพงขึ้น แต่ในความจริงแล้วการใช้ Anti-Reflection เพื่อลดรังสีที่สะท้อนกลับมา กลับช่วยถนอมสายตาได้อย่างดีมากกว่า
ในเมืองไทยเองขาย ฟิล์มกันรอยแบบด้าน (Matte Film) จะเป็นแบบ Anti-Glare เป็นส่วนมากเกินกว่า 90% เพราะมีพื้นฐานมาจาก Smart Phone เป็นหลัก ส่วนฟิล์มแบบที่เป็น Anti-Reflection แท้ๆนั้น จะขายในพวกแบร์นดราคาแพงๆทั้งหลาย แต่ Anti-Reflection สำหรับ จอคอม Monitor แทบไม่มีใครขาย นอกจากนำเข้ามาเป็นพิเศษ เพื่องานแก้ปัญหาโดยเฉพาะ
จากรูปเป็นหน้าจอ Display ในงาน Motor Show ซึ่งเจอ Sport-Light ยิงเข้ามารอบทิศทาง ทำให้ความเข้มแสงโดยรอบเกินกว่า 8 เท่าแสงหน้าจอ ทำให่้ไม่สามารถมองเห็นหน้าจอได้ในระยะไกลมากเกินกว่า 2 เมตร ทำให้ต้องแก้ปัญหาด้วยการติดฟิล์มกันรอย Anti-Reflection ซึ่งทำให้มองเห็นได้ดีขึ้นถึง 70% (แต่ฟิล์มกันรอย Anti-Glare จะไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้)
จากรูปคือการติดตั้งฟิล์ม Glare ในต่างประเทศจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากเพราะเป็นงานแก้ปัญหา ซึ่งราคาจะเริ่มต้นที่ 320 USD ที่จอ 32-40 นิ้ว จะเห็นว่าค่อนข้างยุ่งยาก เพราะไม่สามารถทำ On Site ต้องยกมาที่ห้องปลอดฝุ่นเท่านั้น ซึ่งในเมืองไทยเราสามารถทำได้ดีกว่ามาก และฟิล์มก็มีคุณภาพที่ดีกว่า
ลดผลกระทบของแสงกระพริบจอ (Reduce Flicker)
Flicker คือ ภาพที่เกิดบนจอ Notebook หรือ จอคอม Monitor จะมีการสั่นหรือการกระพริบตลอดเวลา แต่เรามองเป็นภาพนิ่งเพราะสมองเราพยายามตัดการทำงานการกระพริบหน้าจอออกไปให้มองเป็นภาพที่นิ่ง แต่ก็ยังมีผลให้สายตาล้า หรือ สมองล้า เมื่อเวลามองจอนานๆ เป็นที่มาของบางคนที่มองจอนานๆ แล้วปวดหัว มึนๆ หรือตาลาย ปวดตา
จากรูป เห็นว่า Flicker ของจอ LED จะสูงกว่า LCD มากๆ
“ทำให้หลายคนบ่นว่าใช้จอสมัยใหม่ที่เป็น LED ใช้แล้วไม่สบายตา มึนหัว น้ำตาไหล เวียนหัว สรุปคือไม่ได้มโนไปเองนะครับ” แต่สายตาคนเรา Sensitive ไม่เท่ากัน เหมือนอาการเมารถ บางคนเมาบางคนไม่เมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นผลร้ายต่อดวงตาอยู่ดี
จาก VDO ข้างบนเป็นการทดสอบ Flicker ที่เกิดกับจอทั่วไป ซึ่งหน้าจอใหม่ๆ ดีๆ แพงๆ จะมีฟังก์ชั่น Flicker-Free ให้มาด้วยคือหน้าจอจะไม่แสดงการกระพริบเลย ซึ่งช่วยได้มาก แต่หากจอคุณเป็นจอธรรมดา การติดฟิล์มก็ช่วยคุณได้
การติดฟิล์มกันรอย Notebook หรือ จอคอม Monitor ช่วยลด Flicker ได้อย่างไร?
การติดฟิล์มกันรอยเพื่อลดค่า Flicker ลงนั้นจะมีอยู่ในฟิล์มกันรอยแบบด้าน (Matte Film) เท่านั้น ฟิล์มกันรอยแบบด้านของจอ Notebook และ จอคอม Monitor จะลดค่า Flicker ได้มากถึง 60-70% จนถึงในระดับที่สายตายอมรับได้สำหรับคนที่ไม่ Sensitive มากนัก
“การใช้งานเพื่อให้เกิด Flicker น้อยที่สุดคือ การเพิ่ม ย่านความสว่างให้มากกว่า 40% brightness หาก Brightness ต่ำๆ ทำให้เกิด Flicker สูงมาก แล้วใช้ฟิล์มกันรอยแบบด้าน กระจายจ้าของแสงลง เพื่อให้เกิดความสบายตา”
ถนอมสายตาป้องกันแสงสีน้ำเงินที่ทำร้ายดวงตา (Anti-Blue Light)
ข้อมูลเกี่ยวกับฟิล์มกันรอย Blue Light Cut เข้าในไทยประมาณ 2-3 ปีแล้ว มีการทำการตลาดและโฆษณาเกี่ยวกับฟิล์มถนอมสายตาแทบทุกยี่ห้อและแทบทุกเจ้า เพราะฉะนั้นจะทำการสรุปเพื่อให้เห็นข้อดีของการติดฟิล์มกันรอยแบบ Blue Light Cut สำหรับจอ Notebook และ จอคอม Monitor ดังนี้
“ย่านแสงสีน้ำเงิน (415-455 nm) เป็น Blue-velvet light คลื่นแสงในช่วงที่ทำร้ายดวงตา การติดฟิล์มถนอมสายตา คือการ Block ช่วงแสงคลื่นนี้ทิ้งไป” ส่วนผลงานวิจัยต่างๆ หาได้ตามอินเตอร์เน็ตเลยครับ มีเยอะมากจนเอามานำเสนอไม่ไหว เช่น
- กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ จัดพิมพ์เอกสารชี้แจงเกี่ยวกับอันตรายของแสงจากหลอดแอลอีดีที่มีสีน้ำเงินเป็นองค์ประกอบ
- http://en.wikipedia.org/wiki/High-energy_visible_light
ส่วน product อื่นๆที่ช่วยป้องกันแสงสีน้ำเงินก็มี หลากหลายชนิด เช่น แผ่นกรองแสง Notebook, เลนส์แว่น แบบถนอมสายตาต่างๆ หรือ จอ Monitor สมัยใหม่ก็มีแบบถนอมสายตา ตัวแสงสีน้ำเงินออกมาหลายรุ่นแล้ว
การติดฟิล์มถนอมสายตา สำหรับ จอ Notebook หรือ จอ Monitor มีประโยชน์อย่างไร?
แน่นอนการติดฟิล์มถนอมสายตา คือช่วยป้องกันคลื่นแสงสีน้ำเงินในช่วง 415-455 นาโนเมตร ที่ทำร้ายดวงตา การติดฟิล์มถนอมสายตานี้มีผลดี เพื่อลดปัญหา สายตาล้า จากการจ้องจอนานๆ ยืดอายุการจ้องจอทำงานให้ยาวนานขึ้นได้ ทั้งยังลดปัญหาสายตาปรับโฟกัสไม่ได้จากการละสายตาจากหน้าจอ
แต่การติดฟิล์มถนอมสายตาสำหรับ จอ Notebook หรือจอคอม Monitor หาได้ยากมากเนื่องจากมีราคาสูง ซึ่งราคาสูงกว่าฟิล์มทั่วไปถึง 4-8 เท่า แถมฟิล์มกันรอยที่มีขนาดใหญ่สำหรับหน้าจอ Notebook หรือ จอ Monitor ซึ่งมีขนาดหน้าจอใหญ่มาก ประมาณ 11″ – 35″ แถมยังต้องผลิตตรงรุ่นสำหรับหน้าจอนั้นๆ ยิ่งหายากยิ่งกว่า ซึ่งหากต้องการติดฟิล์มถนอมสายสำหรับ จอ Notebook หรือ จอคอม Monitor แล้วสามารถติดต่อทาง Maximum ได้ เรามีทุกรุ่น
ในความเป็นจริงแล้วการติดฟิล์มลดแสงสะท้อนเป็นส่วนเสริมอีกทางเลือกหนึ่งที่เราสามารถช่วยได้ หากไม่ต้องการติดฟิล์มเราก็สามารถ โหลดโปรแกรมสำหรับป้องกันแสงสีน้ำเงิน มาลงที่เครื่องคอม หรือ Notebook ก็สามารถป้องกันแสงสีน้ำเงินได้ เช่นเดียวกัน ซึ่งคุณภาพก็ไม่ต่างกันมากนัก เพียงแต่อาจจะทำให้เครื่องช้าลงบ้างเท่านั้นเอง
สรุป
การติดฟิล์มเพื่อกันรอยหน้าจอ Monitor หรือ Notebook หากใช้เพื่อกันรอยขีดข่วน กันรอยนิ้วมือ อาจจะเป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้นมีเทียบกับประโยชน์ที่แท้จริงของการติดในเรื่อง ลดแสงสะท้อน และ เงาสะท้อน (Anti-Reflection), ถนอมสายตา (Blue Light Cut), Flicker และ ลด UV เพราะจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดการการเมื่อยล้า, มึน, เวียนหัว, ปวดตา และถนอมสายตา ซึ่งมีผลในระยะยาว